จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เครื่องมือสร้างข้อความ

  ใช้เครื่องมือสร้างข้อความ กระทำการต่าง ๆ กับป้าย และอ็อบเจกต์อื่นที่แสดงข้อความ
ใช้เครื่องมือสร้างข้อความในการสร้าง แสดง ซ่อน และแก้ไขป้าย สร้างและแก้ไขคำบรรยาย ตลอดจนเปลี่ยนแปลงข้อความที่แสดงการวัด การคำนวณ และพารามิเตอร์
เคอร์เซอร์ของเครื่องมือสร้างข้อความมีสี่ลักษณะ ขึ้นกับว่ากำลังชี้อะไรอยู่ และแต่ละลักษณะทำให้เกิดผลต่างกัน
   รูปมือระบายทึบ: คลิกเพื่อแสดงหรือซ่อนป้ายของอ็อบเจกต์ที่มือกำลังชี้ เคอร์เซอร์นี้จะปรากฏเมื่อกำลังชี้อ็อบเจกต์ที่มีป้ายที่จะแสดงหรือซ่อนเท่านั้น
   รูปมือติดอักษร A: กดและลากเพื่อย้ายตำแหน่งป้ายของอ็อบเจกต์ หรือดับเบิลคลิก
เพื่อแก้ไขป้ายของอ็อบเจกต์ เคอร์เซอร์นี้จะปรากฏเมื่อกำลังชี้ป้ายหรืออ็อบเจกต์ที่แสดงข้อความ (เช่น พารามิเตอร์ หรือการวัด) ที่สามารถมีป้ายได้
    รูปมือธรรมดา : กดและลากเพื่อสร้างคำบรรยาย เคอร์เซอร์นี้จะปรากฏเมื่อกำลังชี้บนพื้นที่ว่าง หรืออ็อบเจกต์ที่ยังไม่มีข้อความเท่านั้น
     รูปแท่งตัว I : กดและลาก หรือดับเบิลคลิกเพื่อแก้ไขคำบรรยาย เคอร์เซอร์นี้จะปรากฏเมื่อกำลังชี้คำบรรยาย
    รูปลูกศรปรับขนาด: กดและลากเพื่อปรับขนาดคำบรรยาย ซึ่งจะทำให้การไหล
ข้อความเปลี่ยนแปลงด้วย เคอร์เซอร์นี้จะปรากฏเมื่อกำลังชี้คำบรรยายที่ได้เลือกไว้


เครื่องมือวงเวียน

ใช้เครื่องมือวงเวียนในการสร้างวงกลมที่กำหนดด้วยจุดสองจุด คือ จุดศูนย์กลาง กับจุดที่วงกลมผ่าน จุดที่สองนี้บางครั้งเรียกว่า จุดรัศมี เพราะเป็นจุดกำหนด รัศมีของวงกลม

การสร้างวงกลม
  1. เลือกเครื่องมือวงเวียน
  2. คลิกระบุตำแหน่งจุดศูนย์กลางของวงกลม (จะคลิกในพื้นที่ว่าง คลิกบนจุดที่มีอยู่ หรือบนอ็อบเจกต์เส้นทาง เช่น ส่วนของเส้นตรง หรือวงกลมวงอื่น หรือบนจุดตัด ก็ได้)
  3. คลิกอีกครั้งเพื่อระบุตำแหน่งของจุดรัศมี วิธีอื่นที่จะใช้เครื่องมือวงเวียน คือกดเมาส์ที่จุดศูนย์กลาง ลากและปล่อยที่จุดรัศมี

วิธีใช้เครื่องมือวงเวียน อีกวิธีหนึ่ง คือ กดปุ่มเมาส์ ตรงตำแหน่งที่เป็นจุดศูนย์กลาง จากนั้นลากและปล่อยปุ่มเมาส์ตรง ตำแหน่งที่จะให้เป็นรัศมี

เครื่องมือลงจุด

  ใช้เครื่องมือลงจุด ในการสร้างหรือเขียนจุดอิสระ จุดบนเส้นทาง และจุดตัด

คลิกบนอ็อบเจกต์เส้นทาง เช่น ส่วนของเส้นตรง วงกลม หรือเส้นขอบของรูปหลายเหลี่ยม เพื่อสร้างจุดบนเส้นทาง เวลาที่เครื่องมือลงจุดมาอยู่ในตำแหน่งที่สร้างจุดบน เส้นทางได้ เส้นทางจะถูกไฮไลท์เห็นเป็นเส้นหนาขึ้น และมีสีต่างจากเดิม

เครื่องมือเขียนเส้นในแนวตรง

               
ใช้เครื่องมือเขียนเส้นในแนวตรงสร้างอ็อบเจกต์ที่เป็นเส้นในแนวตรงคือ ส่วนของเส้นตรง รังสี และเส้นตรง แต่ละอ็อบเจกต์ที่สร้างด้วยเครื่องมือนี้กำหนดด้วยจุดสองจุด
   
                                  ใช้เครื่องมือส่วนของเส้นตรง สร้างส่วนของเส้นตรงที่อยู่ระหว่างจุดปลายสองจุด

  ใช้เครื่องมือรังสี สร้างรังสีที่เริ่มจากจุดปลายจุดหนึ่งและผ่านจุดอีกจุดหนึ่ง

                                                ใช้เครื่องมือเส้นตรง สร้างเส้นตรงที่ผ่านจุดสองจุด
ตอนที่ Sketchpad เริ่มต้น เครื่องมือเขียนเส้นในแนวตรงที่พร้อมใช้งาน ณ ขณะนั้น จะเป็นเครื่องมือส่วนของเส้นตรง ถ้าต้องการเปลี่ยนเครื่องมือเป็น แบบอื่น ให้กดไอคอนของเครื่องมือ เขียนเส้นในแนวตรงในกล่องเครื่องมือค้างไว้ เพื่อให้เมนูเครื่องมือผุดขึ้นมา แล้วเลือกเครื่องมือแบบใดก็ได้ในสามแบบที่ปรากฏเราสามารถแนบอ็อบเจกต์ที่เป็นเส้นในแนวตรง ด้วยการแนบจุดแรกหรือจุดที่สองของอ็อบเจกต์ ให้ติดกับอ็อบเจกต์ที่มีอยู่ การทำเช่นนี้ เราสามารถทำได้โดยคลิก จุดที่มีอยู่ อ็อบเจกต์เส้นทาง เช่น ส่วนของเส้นตรง เส้นตรง วงกลม หรือส่วนโค้ง และจุดตัดของอ็อบเจกต์เส้นทางสองเส้น
การสร้างอ็อบเจกต์ที่เป็นเส้นในแนวตรงให้ทำมุมตามที่กำหนด
เวลาที่สร้างอ็อบเจกต์ที่เป็นเส้นในแนวตรง หากกดแป้น Shift ค้างขณะที่สร้าง เส้นที่ได้จะเป็นเส้นนอน เส้นตั้ง หรือเส้นเอียงทำมุม 150, 300, 450, 600 หรือ 750 โดยเราต้องสร้างจุดที่สองให้เสร็จก่อนจะปล่อยแป้น Shift 

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนะนำ บล็อกน่าสนใจ

1.  http://readandwatchcartoonfree.blogspot.com อ่านการ์ตูน
2. http://menggunlovespace.blogspot.com จักรวาล
3.http://gearranong123.blogspot.com/ ฮาร์เลย์
5.http://ranongcatoon.blogspot.com/ การ์ตูน
เครื่องมือลูกศร

เครื่องมือลูกศรเป็นเครื่องมือสำคัญของเรขาคณิตพลวัตของ Sketchpad เราสามารถใช้เครื่องมือนี้เคลื่อนย้าย (หรือลาก) อ็อบเจกต์ในแบบร่าง
เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ สำรวจการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทดสอบสิ่งที่คาดการณ์ และค้นหาสมบัติใหม่ ๆ
โดยทั่วไปเราใช้เครื่องมือนี้ในการเลือกอ็อบเจกต์ คำสั่งในเมนูหลายคำสั่ง มีผลกับอ็อบเจกต์ที่เลือกไว้เท่านั้น การเลือกอ็อบเจกต์เป็นการบอกโปรแกรมให้สนใจเฉพาะอ็อบเจกต์เดียวหรือกลุ่มเดียว ตัวอย่างเช่น เราอาจใช้เครื่องมือนี้ระบุว่า จะทำการแปลงอ็อบเจกต์ใดด้วยเมนู
การแปลง หรือวัดอ็อบเจกต์ใดด้วยเมนู การวัด
นอกจากจะใช้ในการลากและเลือกแล้ว เราอาจใช้เครื่องมือลูกศร เพื่อจุดประสงค์อื่นอีกมากมาย เช่น สร้างจุดตัด กดปุ่ม ปรับขนาดของระบบพิกัด กราฟฟังก์ชัน รูปภาพ และโลคัส เป็นต้น

การเลือกและการไม่เลือกอ็อบเจกต์

เราเลือกอ็อบเจกต์ ก็เพื่อให้สามารถจัดการอ็อบเจกต์ในลักษณะต่าง ๆ ได้ เช่น เพื่อลากอ็อบเจกต์ เพื่อให้คำสั่งมีผล และเพื่อเปลี่ยนแปลงสมบัติบางอย่างของ คำสั่งควบคุมการเคลื่อนไหว และ แถบรูปแบบอักษร
การเลือกยังมีผลต่อคำสั่งในเมนูด้วย โดยมีผลในลักษณะที่ว่า ณ ตอนนั้น มีคำสั่งใดใช้ได้บ้าง ตัวอย่างเช่น ถ้าเลือกส่วนของเส้นตรง เราจะใช้คำสั่งจุดกึ่งกลางในเมนู สร้าง ได้ แต่ถ้าเลือกวงกลม รังสี หรือจุดจะใช้คำสั่งนี้ไม่ได้

ขอบเขตของการเลือกยังเป็นตัวกำหนดว่า การลากจะเกิดผลอย่างไรด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเลือกส่วนของเส้นตรง โดยเลือกจุดปลายทั้งสองด้วย แล้วทำการลาก การลากจะทำให้ส่วนของเส้นตรงเคลื่อนไปด้วยกันทั้งเส้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความยาวหรือทิศทาง แต่ถ้าเลือกส่วนของเส้นตรงกับจุดปลายข้างเดียว เมื่อทำการลาก จุดปลายข้างที่ไม่ได้เลือกจะอยู่กับที่ ไม่ได้ถูกลากไปด้วย ซึ่งจะมีผลให้ความยาวและความชันเปลี่ยนแปลง
การเลือกหรือไม่เลือกอ็อบเจกต์โดยใช้เครื่องมือลูกศร:
  • เลือกอ็อบเจกต์ที่ยังไม่ได้เลือก ด้วยการเลื่อนหัวลูกศรของเครื่องมือมาอยู่บนอ็อบเจกต์นั้น แล้วคลิกเมาส์
  • เลือกอ็อบเจกต์เพิ่ม ด้วยการคลิกเลือกต่อไปจนครบ
  • ยกเลิกการเลือกอ็อบเจกต์ที่ได้เลือกแล้ว ด้วยการทำแบบเดียวกับการเลือก คือ เลื่อนหัวลูกศรให้อยู่บนอ็อบเจกต์ แล้วคลิกเมาส์
  • ยกเลิกการเลือกอ็อบเจกต์ทั้งหมด ด้วยการคลิกพื้นที่ว่างในแบบร่าง
เราอาจยกเลิกการเลือกอ็อบเจกต์ทั้งหมด ด้วยการกดแป้น ESC ครั้งเดียว หรือหลายครั้ง
นอกจากนี้เรายังสามารถ:
  • เลือกอ็อบเจกต์ที่เหลื่อมซ้อนหรือซ้อนทับกันสนิท ด้วยการคลิกไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเลือกได้อ็อบเจกต์ที่ต้องการ
  • เลือกหรือยกเลิกการเลือกปุ่มแสดงการทำงาน ด้วยการคลิกตรงที่จับ ไม่ใช่ที่ตัวปุ่ม
  • เลือกหลายอ็อบเจกต์พร้อมกัน ด้วยการล้อมอ็อบเจกต์เหล่านั้นให้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมมุมฉาก

การเลือกอ็อบเจกต์ด้วยกรอบสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ใช้กรอบสี่เหลี่ยมมุมฉากเพื่อเลือกอ็อบเจกต์หลาย ๆ อย่างที่อยู่ใกล้ ๆ กันในแบบร่าง
  1. วาดภาพในใจว่า สี่เหลี่ยมมุมฉากที่สามารถคร่อมอ็อบเจกต์ที่ต้องการเลือกได้หมด ควรมีขนาดเท่าใด และอยู่ตรงไหน
  2. เลื่อนหัวลูกศรของเครื่องมือลูกศร มาอยู่ที่ตำแหน่งที่ควรจะเป็นมุมของรูปสี่เหลี่ยมในข้อ 1 และต้องไม่มีอ็อบเจกต์อยู่ด้วย
  3. กดปุ่มเมาส์ค้างไว้ และลากทแยงมายังมุมตรงข้าม จะปรากฏรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีขอบเป็นเส้นประ อ็อบเจกต์ทั้งหมดที่รูปสี่เหลี่ยมล้อมไว้ หรือสัมผัส จะถูกเลือก
  4. ปล่อยปุ่มเมาส์ และตรวจดูว่า ได้เลือกอ็อบเจกต์ที่ต้องการทั้งหมดแล้วหรือยัง ถ้ายัง ซึ่งอาจเป็นเพราะสี่เหลี่ยมมีขนาดเล็กไป หรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ให้ย้อนกลับไปเริ่มใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 2 แต่ถ้าเลือกได้แล้วก็เป็นอันเสร็จ
การวางตำแหน่งรูปสี่เหลี่ยมให้เหมาะสม นอกจากใช้ในการเลือกหลาย ๆ อ็อบเจกต์พร้อมกันแล้ว ยังใช้กับการสร้างเส้นตั้งฉาก และการทำให้คำสั่งเดียวมีผลกับหลาย ๆ อ็อบเจกต์ เช่น ทำให้คำสั่งสร้างจุดกึ่งกลาง มีผลกับด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยม

การลากอ็อบเจกต์

จุดประสงค์ของการลากอ็อบเจกต์มีหลายอย่าง ได้แก่ เพื่อย้ายอ็อบเจกต์ไปอยู่ตำแหน่งใหม่ เพื่อปรับขนาดอ็อบเจกต์ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโครงสร้าง และเพื่อศึกษา geometry embedded ในแบบร่าง ซึ่งจะทำให้ค้นพบและประจักษ์ว่า อ็อบเจกต์ต่าง ๆ สัมพันธ์กันอย่างไร ในการลากอ็อบเจกต์ ให้เลื่อนหัวลูกศรของเครื่องมือ ลูกศร ไว้บนอ็อบเจกต์ จากนั้นกดปุ่มเมาส์ และลาก
  • ถ้าไม่ได้เลือกอ็อบเจกต์นั้นไว้ก่อน ก็จะลากได้เพียงอ็อบเจกต์เดียว (อ็อบเจกต์อื่นที่ได้เลือกไว้ก่อน จะไม่ถูกลาก และเปลี่ยนเป็นไม่ได้เลือก)
  • ถ้าได้เลือกอ็อบเจกต์นั้นไว้ก่อน จะลากอ็อบเจกต์นั้นได้ และอ็อบเจกต์อื่นที่ได้เลือกไว้ก่อนไปด้วยกันทั้งหมด

การแปลงและการลาก

ในทางคณิตศาสตร์ การเคลื่อนที่อ็อบเจกต์ คือ การแปลงอ็อบเจกต์นั้น การลากของ Sketchpad มีพื้นฐานมาจากการแปลงทางเรขาคณิตซึ่งมีสามแบบ คือ การเลื่อนขนาน การหมุน และการย่อ/ขยาย ด้วยเหตุนี้ Sketchpad จึงมีเครื่องมือลูกศรสามแบบ เพื่อให้เราสามารถทำการแปลงแต่ละแบบได้คือ เครื่องมือลูกศรเลื่อนขนาน เครื่องมือ ลูกศรหมุนและเครื่องมือลูกศรย่อ/ขยาย เครื่องมือทั้งสามนี้ใช้เลือกอ็อบเจกต์ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต่างกันคือ พฤติกรรมหรือลักษณะของการลากเท่านั้น
เครื่องมือลูกศร

  
แนะนำ
Translate คือ เลื่อนขนาน
Rolate คือ หมุน
Dilate คือ ย่อขยาย
ในตอนแรกที่เริ่มโปรแกรม Sketchpad เครื่องมือลูกศรที่พร้อมใช้งานจะเป็นเครื่องมือลูกศรเลื่อนขนาน หากต้องการเปลี่ยนเป็นเครื่องมือลูกศรแบบอื่นให้กดไอคอนของเครื่องมือลูกศรค้างไว้ เพื่อให้เมนูเครื่องมือลูกศรยื่นออกมา แล้วเราจึงเลือกแบบที่ต้องการจากเมนูนี้
  • ใช้เครื่องมือลูกศรเลื่อนขนาน เลื่อนอ็อบเจกต์ไปเป็นระยะทางหรือในทิศทางใด ๆ โดยที่ขนาดมุมและรูปร่างยังเหมือนเดิม
  • ใช้เครื่องมือลูกศรหมุน หมุนอ็อบเจกต์รอบจุดศูนย์กลาง ซึ่งจะทำให้มุมของอ็อบเจกต์เปลี่ยน โดยที่ขนาดและระยะทางจากจุดศูนย์กลางยังคงเดิม
  • ใช้เครื่องมือลูกศรย่อ/ขยาย ย่อ/ขยายอ็อบเจกต์โดยสัมพันธ์กับจุดศูนย์กลาง ซึ่งจะทำให้อ็อบเจกต์เคลื่อนที่เข้าใกล้หรือถอยห่างจากจุดศูนย์กลาง และทำให้อ็อบเจกต์เล็กลงหรือใหญ่ขึ้น โดยที่มุมและรูปร่างยังเหมือนเดิม


อุปกรณ์ ใน GSP

กล่องเครื่องมือ

เมื่อเราเริ่มต้นโปรแกรม Sketchpad กล่องเครื่องมือจะอยู่ด้านซ้ายของหน้าจอ และมีเครื่องมืออยู่หกอย่าง คือ
 
  • เครื่องมือลูกศร ใช้สำหรับเลือกและลากอ็อบเจกต์ในแบบร่าง เครื่องมือนี้มีสามแบบ คือ แบบลาก-เลื่อน (เคลื่อนย้าย) แบบลาก-หมุน (หัน) และแบบลาก-ย่อ/ขยาย (หดหรือยืด)
  • เครื่องมือลงจุด  ใช้สำหรับสร้างจุด
  • เครื่องมือวงเวียน  ใช้สำหรับสร้างวงกลม
  • เครื่องมือเขียนเส้นในแนวตรง  มีสามแบบ ใช้สำหรับสร้างส่วนของเส้นตรง รังสี และเส้นตรง
  • เครื่องมือสร้างข้อความ  ใช้สำหรับสร้างและแก้ไขข้อความและป้ายชื่อ
  • เครื่องมือกำหนดเอง  ใช้สำหรับสร้างและจัดการเครื่องมือกำหนดเอง (เครื่องมือที่ผู้ใช้สร้างเอง)
ถ้าต้องการใช้เครื่องมือใด ให้คลิกเลือกเครื่องมือนั้นจากกล่องเครื่องมือ แล้วเลื่อนเมาส์ไปบนแบบร่าง จากนั้นจึงใช้เครื่องมือด้วยการคลิก หรือด้วยการกดและลาก นอกจากจะเลือกใช้เครื่องมือ ด้วยการคลิกเมาส์แล้ว เรายังสามารถเลือกด้วยการกดแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งมีวิธีการคือ กดแป้น Shift ค้างไว้ แล้วกดแป้นลูกศรขึ้นหรือลงสำหรับ เครื่องมือลูกศร  และ เครื่องมือเขียนเส้นในแนวตรง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีให้เลือกสามแบบ เราสามารถเลือกแบบที่ต้องการด้วยการใช้เมาส์กดค้างที่เครื่องมือนั้น จนกว่าเมนูเครื่องมือนั้นผุดขึ้นมา จากนั้นจึงเลือกแบบที่ต้องการจากเมนูนี้ หรืออีกวิธีหนึ่งเลือกด้วยการใช้คีย์บอร์ด โดยเรากดแป้น Shift ค้างไว้ แล้วกดแป้นลูกศรซ้ายหรือขวา เพื่อเลือกแบบเครื่องมือ เมื่อเราเลือกเครื่องมือใด เครื่องมือนั้นจะเป็นเครื่องมือใช้งานตลอดไป จนกว่าเราจะเลือกอันใหม่ ดังนั้น เมื่อเลือกแล้ว เราจึงใช้เครื่องมือได้เรื่อย ๆ ไม่ต้องคลิกเลือกอีก